ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media Development)
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามพร้อมคำตอบ ซึ่งอาจพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ
โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยากมาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
1.1 โปรแกรม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
ผู้พัฒนา นายเทพ รัตนเรืองจำรูญ และนายพงศกร พันธุ์พงษ์สิทธิ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สโรชา สายเนตร
สถานศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญ
1.2 โปรแกรมสำนวนไทยพาสนุก
ผู้พัฒนา ด.ญ.จิราพร แจ้งไพร และ ด.ญ.กนิษฐา สุริเมือง
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วิรุบล จันตา
สถานศึกษา โรงเรียนภัทรวิทยา จ.ตาก
1.3 โปรแกรมสนุกไปกับตารางธาตุ
ผู้พัฒนา ด.ญ.วริศรา พรหมมณี
และ ด.ญ.กมลวรรณ ทองงาน
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ทัศนีย์ ระลึกมูล
สถานศึกษา โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จ.พิษณุโลก
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วยสร้างงานประยุกต์ต่างๆ
โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์
ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
2.1 ซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งาน
สร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลค่า ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์
2.2 ซอฟต์แวร์การวาดรูป
พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก ให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้โดยง่าย
2.3 ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ
ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่า ด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไข ภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก
3. โครงงานจำลองทฤษฏี (Theory Simulation)
โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุด
ระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง
และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง
หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการหรือคำอธิบาย พร้อมทั้งการจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะ
ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
3.1 การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว
3.2 การทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ
4. โครงงานประยุกต์ใช้งาน (Application)
โครงงานประยุกต์ใช้งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงาน
เพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและ
ตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย
เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอย
ต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ
ของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้น
ต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพ
ของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์
โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ
ที่
เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
4.1 โปรแกรม สารบรรณสำเร็จรูป : Readymade Archivist
ผู้พัฒนา น.ส.คณิตา ดวงแจ่มกาญจน์ และ นายปิฐิพงศ์ กันทะวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วัชระ การสมพจน์
สถานศึกษา โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
4.2 โปรแกรมระบบฐานข้อมูลทางการแพทย์เบื้องต้น
ผู้พัฒนา น.ส.ปานชีวัน ฤกษ์สมบูรณ์ นายทวีธรรม ลิมปานุภาพ และ นายปัถย์ศักดิ์ธนากูล
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์เลาขวัญ งามประสิทธิ์
สถานศึกษา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
โครงงานพัฒนาเกมเป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมทายคำศัพท์ และเกมการคำนวณเลข เป็นต้น ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกความคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนา ขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ
ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
5.1 โปรแกรมเกมเพื่อความบันเทิง War of Oracle
ผู้พัฒนา นายปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ นายณัชฌา พาณิชย์ชะวงศ์ นายสรรศิลป์ ตั้งนิรันดร์กุล
อาจารย์ที่ปรึกษา นายคมณัษฐ์ แซ่เฮ้ง
สถานศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ
5.2 โปรแกรมต่อให้เพิ่ม เติมให้เต็ม (Magic Puzzle)
ผู้พัฒนา นายสันติ สุรมิตรไมตรี
อาจารย์ที่ปรึกษา นายชนารัตน์ คาอ่อน
สถานศึกษา โรงเรียนระยองวิทยาคม